ความรู้เบื้องต้นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ในการต่อเชื่อมเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ประวัติสมาชิกในกลุ่ม



นาย พรพงศ์ พรมย่วน ชื่อเล่น โอ๋
50/9 ถ.แสงมุกดาเหนือ ต.ชุมแสง อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ 60120
อายุ 21ปี สัญชาติ ไทย ศาสนา พุทธ วัน เดือน ปีเกิด 24 ตุลาคม 2530 ปีเถาะ
อาชีพ นักศึกษา ประวัติการศึกษา อนุบาล 1-ป.6 จบจากโรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านชุมแสง
สถานที่ตั้ง ถ.วังพิกุล ต.ชุมแสง อ.ชุมแสง.นครสวรรค์ 60120


ชื่อ น.ส. ทิพวรรณ นามสกุล เกตุมะณี อายุ 20 ปี
เกิด วันอังคารที่ 22 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2531
ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 437 ม.7 ตำบลเขาเจ็ดลูก อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร 66230
จบชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนบ้านเขาหม้อ
จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนบ้านใหม่ราษฎร์ดำรง
จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ โรงเรียนวังทรายพูนวิทยา
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีพิษณุโลกระดับชั้น ปวส.2 เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

ชื่อ น.ส. พักตร์พริ้ง นามสกุล สิมมา อายุ 20 ปี
เกิด วันเสาร์ ที่ 30 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2531
อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 160/1 ม.5 ตำบลชมพู อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 65190
จบชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนวัดปลวกง่าม
จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนเนินสะอาดวิทยาคม
จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ โรงเรียนเนินสะอาดวิทยาคม
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีพิษณุโลกระดับชั้น ปวส.2 เรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

นายกมล ควรจำ อายุ 21 ปี
อยู่บ้านเลขที่ 27 หมู่ 1 ต.คลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย 64110
เกิดวันที่ 7 มีนาคม 2530
เรียนชั้นประถมศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนถึงป.6 ที่โรงเรียนเทศบาลเมืองสวรรคโลก
เรียนม.1-ม.3ที่โรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา
เรียนม.4-ม.6ที่การศึกษานอกโรงเรียน
ปัจจุบันเรียนอยู่โรงเรียนบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีพิษณุโลก



นาย วินัย ถาวร อายุ 20ปี ชื่อเล่น ไนท์ กรุ๊ปเลือด เอบี บุคลิกส่วนตัว: ร่าเริง แจ่มใส อาชีพที่ใฝ่ฝัน: วิศวกรรม ความสามารถพิเศษ: กีฬา ย่ามว่าง: ดูหนัง,ฟังเพลง,นอน กีฬาที่ชอบ: วอลเลย์บอล,ปิงปอง,แบดมินตัน ฟุตบอล ฟุตซอล คติประจำใจ: มิตรที่แท้จริงจะพิสูจน์ได้เมื่อเราตกทุกข์ได้ยาก เกิดวันที่ 3 มีนาคม 2531 มีเชื้อชาติ ไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนา พุทธ บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่ 7 ตำบล ดงเดือย อำเภอ กงไกรลาศ จังหวัด สุโขทัย รหัสไปรษณีย์ 64170

การศึกษา
จบประถมศึกษาที่ โรงเรียนบ้านดอนสำโรง
จบระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา ได้เกรดเฉลี่ย 2.44
จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช) ที่วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย จบสาขา ช่างยนต์ทวิภาคี ได้เกรดเฉลี่ย 3.31
ปัจจุบัน กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) ที่ โรงเรียนบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีพิษณุโลก (บทพ) สาขางาน บริหารธุรกิจ สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

น.ส.ทิพวรรณ     เกตุมะณี    ห้อง สคพ 2  เลขที่  2

น.ส.พักตร์พริ้ง    สิมมา        ห้อง สคพ 2  เลขที่  3

นาย วินัย           ถาวร         ห้อง สคพ 2  เลขที่  6

นาย พรพงศ์       พรมย่วน    ห้อง สคพ 2  เลขที่ 14

นาย กมล           ควรจำ       ห้อง สคพ 2  เลขที่ 15


                      

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย 3
ค้นหาโปรแกรมใช้งาน Archie นอกจากนี้ อาจใช้บริการสอบถามผ่านทาง E-mail หรือ Chat กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตอื่นๆ หรือสอบถามผ่าน News Group หรือ Group/Thread Discussion ก็ได้ เมื่อค้นได้แหล่งข้อมูลแล้วอาจ download หรือถ่ายโอนข้อมูลที่สืบค้นได้โดยใช้บริการถ่ายโอนไฟล์ข้อมูลและโปรแกรม (File Transfer Protocol หรือ FTP)โดยทั่วไปในปัจจุบัน การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต นิยมใช้โปรแกรม WebBrowsers เช่น Internet Explorer หรือ Netscape แล้วเรียกใช้บริการ www ประกอบกับการใช้ Search Engine ซึ่งมีอยู่มากมายบนอินเทอร์เน็ตในการสืบค้น เมื่อสืบค้นได้แล้ว โปรแกรม Web Browsers มักจะมีบริการ Download ได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยโปรแกรมอื่นๆเข้าช่วย

เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น
เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น (Search Engine) มีอยู่มากมายและมีให้บริการ
อยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้บริการการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะ การเลือกใช้นั้นขึ้นกับประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการสืบค้น Search Engine ต่างๆ จะให้ข้อมูลที่มีความลึกในแง่มุมหรือศาสตร์ต่างๆ ไม่เท่ากัน ตัวอย่าง Search Engine ที่นิยมใช้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นของต่างประเทศ และของไทยเอง ตัวอย่าง

เว็บไซต์ของต่างประเทศ ได้แก่
http://www.yahoo.com
http://www.google.com
http://www.infoseek.com
http://www.ultraseek.com
http://www.lycos.com
http://www.excite.com
http://www.altavista.digital.com
http://www.opentext.com
http://www.hotbot.com
http://www.webcrawler.com
http://www.dejanews.com
http://www.elnet.net
เป็นต้น สำหรับเว็บไซต์ของไทย ได้แก่
http://www.sanook.com
http://www.siamguru.com เป็นต้น


โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กเทอร์นิกส์


เป็นโปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กเทอร์นิกส์ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลจดหมายต่างๆไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเรียกข้อมูลได้ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่ได้เซื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งข้อมูลของจดหมายจะถูกเก็บไว้ในโฟเดอร์เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งโปรแกรมการรับส่งจดหมายที่สามารถทำการตอบสนองคาวมต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโปรแกรมรับส่งจดหมายที่นิยมใว้ในปันจุบันโปรแกรมมัติมีเดีย
เป็นโปรแกรมที่สนับสนุนการทำงานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเนื่องจากว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเป็นข้อมูลที่หลากหลายทั้งภาพและเสียงหรือบางขณะก็เป็นภาพเคลื่อนไหวดังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตจึงต้องมีการติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้ไว้ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานเข้าถึงโปรแกรมมัติมีเดียบนอินเทอร์เน็ตการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการวิจัย 2 แหล่งข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ และใหญ่ที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวินาที ดังนั้นในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตควรดำเนินการดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์การสืบค้น

ผู้สืบค้นหรือผู้วิจัยที่จะนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ควรตั้งวัตถุประสงค์การสืบค้นที่ชัดเจน ทำให้
สามารถกำหนดขอบเขตของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่จะสืบค้นให้แคบลง กำหนดประเภทของเครื่องมือหรือ โปรแกรมสำหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Search Engine ให้เหมาะสม กำหนดช่วงเวลาที่ ข้อมูลสารสนเทศถูกสร้างขึ้น เช่น ช่วงปีที่ตีพิมพ์ของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เพื่อให้ผลการสืบค้นมี ปริมาณไม่มากเกินไป มีความตรง (Validity) ตามวัตถุประสงค์ และมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) มากที่สุด อีกทั้งยังสามารถสืบค้นได้ผลในเวลาอันรวดเร็ว

2. ประเภทของข้อมูลสารสนเทศที่สามารถสืบค้นได้
ข้อมูลสารสนเทศที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมีมากมายหลายประเภท มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย คือ
มีทั้งที่เป็นข้อความ(Text) ภาพวาด (Painting) ภาพเขียนหรือภาพลายเส้น (Drawing) ภาพไดอะแกรม (Diagram) ภาพถ่าย (Photograph) เสียง(Sound) เสียงสังเคราะห์ เช่น เสียงดนตรี (Midi) ภาพยนตร์ (Movie) ภาพเคลื่อนไหวอะนิเมชัน (Animation) จากเทคโนโลยีการสืบค้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน การสืบค้นที่เร็วที่สุด มีประสิทธิภาพที่สุด และแพร่หลายที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศประเภทข้อความ สำหรับ การสืบค้นข้อมูลที่เป็นภาพ (Pattern Recognition) และเสียง ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก ใช้เวลานาน และยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงยังไม่มีการสืบค้นข้อมูลประเภทอื่นๆ นอกจากประเภทข้อความในการให้บริการการสืบค้นบนอินเทอร์เน็ต

3. การสืบค้นต้องอาศัยอุปกรณ์ู้
ก่อนที่ผู้สืบค้นจะสามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตได้ ต้องมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ต่อเข้าอินเทอร์เน็ตซึ่งอาจเป็น Modem



ในกรณีที่ใช้คู่กับสายโทรศัพท์ หรือแผ่น LAN Card ในกรณีที่ใช้คู่กับระบบเครือข่ายที่ได้รับการติดตั้งไว้แล้ว


ซอฟต์แวร์ การสื่อสาร (Communication Software) เช่น Dial-up Networking ในกรณีใช้ Modem หรือมีการติดตั้ง Network Protocol ที่เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นติดตั้งอยู่และติดตั้ง Network Adapter ที่เหมาะสมสำหรับ LAN Card นั้นๆ ต้องสมัครเป็นสมาชิกขององค์การหรือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อเป็นช่องทางออกสู่อินเทอร์เน็ต นอกจากอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์(Computer Literacy) ความรู้ภาษาอังกฤษเนื่องจากข้อมูลสารสนเทศส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตเป็นภาษาอังกฤษ และยัง ต้องมีการจัดสรรเวลาให้เหมาะสมอีกด้วย
4. บริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ตที่สามารถใช้ช่วยในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีมากมายหลายบริการ
เช่น บริการเครือข่ายใยแมงมุมโลก หรือ Word-Wide-Web(WWW) บริการค้นหาข้อมูล Gopher บริการ

คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน

ระบบคอมพิวเตอร์แทบทุกระบบถือว่าระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญของระบบ โดยทั่วไประบบคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ระบบปฏิบัติการ โปรแกรมประยุกต์ และผู้ใช้

1. ฮาร์ดแวร์
ประกอบด้วยทรัพยากรต่างๆ ที่มีในระบบ ได้แก่ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก หน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึง โปรแกรมภาษาเครื่อง และไมโครโปรแกรม ซึ่งเป็นส่วนที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นซอฟร์แวร์ในระดับพื้นฐาน (primitive level) โดยสามารถทำงานได้โดยตรงกับทรัพยากรระบบด้วยคำสั่งง่ายๆ เช่น ADD MOVE หรือ JUMP คำสั่งเหล่านี้จะถูกกำหนดเป็นขั้นตอน การทำงานของวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่งที่ไมโครโปรแกรมต้องแปลหรือตีความหมายจะอยู่ใน รูปแบบภาษาเครื่องและมักเป็นคำสั่งในการคำนวณ เปรียบเทียบ และการควบคุมอุปกรณ์นำข้อมูลเข้า/ออก


2. ระบบปฏิบัติการ
เป็นโปรแกรมที่ทำงานเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้เครื่องและฮาร์ดแวร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ใช้ระบบสามารถปฏิบัติงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยจะเอื้ออำนวยการพัฒนาและการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Windows

3. โปรแกรมประยุกต์
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ เช่น งานส่วนตัว งานทางด้านธุรกิจ งานทางด้านวิทยาศาสตร์ โปรแกรมทางธุรกิจ เกมส์ต่างๆ ระบบฐานข้อมูล ตลอดจนตัวแปลภาษา เราอาจเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่า User's Program โปรแกรมประเภทนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงในการพัฒนา เช่นภาษา C, C++, COBOL, PASCAL, BASIC ฯลฯ ตัวอย่างของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใช้ในทางธุรกิจ เช่น โปรแกรมระบบบัญชีจ่ายเงินเดือน (Payroll Program) โปรแกรมระบบเช่าซื้อ (Hire Purchase) โปรแกรมระบบสินค้าคงหลัง (Stock Program) ฯลฯ ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็จะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์มที่แตกต่างกัน ตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้เราสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมเองได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานโปรแกรม
โปรแกรมเหล่านี้เป็นตัวกำหนดแนวทางในการใช้ทรัพยากรระบบ เพื่อทำงานต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้หลากหลายประเภท ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคล โปรแกรม หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นตัวแปรภาษาต้องใช้ทรัพยากรระบบในการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องแก่โปรแกรมเมอร์ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการต้องควบคุมและประสานงานในการใช้ทรัพยากรระบบของผู้ใช้ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง

4. ผู้ใช้
ถึงแม้ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้ถ้าขาดอีกองค์ประกอบหนึ่ง ซึ่งได้แก่ องค์ประกอบทางด้านบุคลากรที่จะเป็นผู้จัดการและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น คอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกพัฒนาขึ้น
เว็บเบราเซอร์ (Web Browser) หรือ "โปรแกรมค้นดูเว็บ"
พูดง่ายๆก็คือโปรแกรมเอาไว้ท่องเว็บนั่นล่ะ พูดให้ง่ายกว่านี้อีกก็คือโปรแกรมที่คุณเปิดอยู่ตอนนี้นั่นล่ะ....เค้าเรียกว่า Web Browser ล่ะจ้ะ
ปัจจุบันตลาดผูกขาดอยู่กับ Internet Explorer ที่ติดมากับ Windows
ในเฉพาะประเทศไทย ก็ล่อเข้าไปร่วม 80-90% แล้ว

ซึ่งหลายคนก็เข้าใจผิดไปอีกว่าในโลกนี้มีแค่ Internet Explorer เจ้าเดียว
แท้ทีจริงแล้วมีอีกบานหทัย ที่ดังๆก็คือ Mozilla Firefox, Opera, Safari ฯลฯ

Firefox

JavaScript คือ ภาษายุคใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย เน็ตสเคปคอมมิวนิเคชันส์ (Netscape Communications Corporation) โดยใช้ชื่อว่า Live Script ออกมาพร้อมกับ Netscape Navigator2.0 เพื่อใช้สร้างเว็บเพจโดยติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์แบบ Live Wire

ต่อมาเน็ตสเคปจึงได้ร่วมมือกับ บริษัทซันไมโครซิสเต็มส์ปรับปรุงระบบของบราวเซอร์เพื่อให้สามารถติดต่อใช้งานกับภาษาจาวาได้ และได้ปรับปรุง LiveScript ใหม่เมื่อ ปี 2538 แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า JavaScript JavaScript สามารถทำให้ การสร้างเว็บเพจ มีลูกเล่น ต่าง ๆ มากมาย และยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันที เช่น การใช้เมาส์คลิก หรือ การกรอกข้อความในฟอร์ม เป็นต้น

HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language เป็นภาษา ที่ใช้ในการพัฒนาเว็บเพจ เพื่อให้โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ (ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Internet Explorer, Netscape, Opera หรือบราวเซอร์ตัวอื่น ๆ) สามารถแปลงคำสั่ง และ แสดงผลเป็นรูปภาพ เสียง หรือข้อมูลได้ ภาษา HTML เป็นข้อความ (Text) ที่เป็นรหัสแอสกี้ (ASCII) ธรรมดา ๆ กับรหัสที่อยู่ ในเครื่องหมาย < > และมีนามสกุลเป็น *.html โดยเมื่อเราเปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ เราจะไม่ สามารถพบรหัสเหล่านี้ได้เลยบนจอภาพ แต่รหัสเหล่านี้จะเป็นคำสั่งที่บอกโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ของเราว่า รูปแบบของข้อความเป็นอย่างไร ตัวหนา/เอียง หรือหัวข้อต่างๆ จะต้องมีการโหลดรูปภาพกราฟฟิกหรือไม่ รวมไปถึงการสร้างจุดเชื่อมโยงหรือลิงค์ (Link) ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น ๆ

โมเด็ม (Modems)




เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท



โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆ
มีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K

2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ

3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร

โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ไ
ด้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้

4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูล
จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems)
และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)

6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ – ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย

ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น
1. พบปะพูดคุย
2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต
4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
6. ส่ง - รับโทรสาร
7. ตอบรับโทรศัพท์


การเลือกซื้อโมเด็ม
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
5. การบีบอัดข้อมูล
6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
7. รับ - ส่งโทรสารได้
8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร

สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม
การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
2. พอร์ทอนุกรม (serial port)
3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม
4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
(ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา)
5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน
โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot

Modem แบบติดตั้งภายใน (Internal Modem)
Modem แบบที่เป็นการ์ดเสียบเข้ากับสล็อตในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้นเอง จุดเด่นของโมเด็มแบบติดตั้งภายใน
ก็คือ ราคาถูกกว่า ไม่เปลืองพื้นที่ใช้สอยเพราะโมเด็มถูกติดตั้งไว้ในตัวเครื่องแล้ว กินไฟน้อยด้วย และส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบติดตั้งภายนอกสำหรับโมเด็มแบบนี้รุ่นใหม่ๆ จะติดตั้งง่ายมากด้วยระบบ plug & play ส่วนข้อด้อยก็คือ เมื่อทำงานไปนานๆ จะเกิดความร้อนะสะสมภายในเครื่อง แถมยังกินไฟจากเพาเวอร์ซัพพลาย ด้วย และยังมีปัญหาการมี IRQ ขัดแย้งกับอุปกรณ์หลายตัวภายในเครื่องอีกด้วย การเลือกชื้อ Modem แบบติดตั้งภายใน ยังมีส่วนที่คำนึงถึงอีกอย่างก็คือ แบบของสล็อตที่ว่างอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา คุณต้องเปิดดูแล้วล่ะครับว่า สล็อตที่วางอยู่บนเมนบอร์ดเป็นสล็อตแบบใหน ซึ่งสล็อตที่ว่านี้จะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบ PCI กับแบบ ISA เพราะคุณต้องซื้อให้ถูกไม่งั้นก็เสียบไม่ได้ แต่ถ้าบังเอิญว่าบนเมนบอร์ดของคุณมีสล็อตเหลืออยู่ทั้งแบบ PCI และ ISA ก็ให้เลือกใช้แบบ PCI นะครับ เพราะ แบบ PCI ราคาถูกกว่าและ ทำงานได้เร็วกว่าด้วยครับ Modem แบบติดตั้งภายในจะติดตั้งได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้


Modem แบบติดตั้งภายนอก (External Modem)
โดยจะต่อกับ Serial Port อาจจะเป็นที่ USB, Com1 หรือ Com2 และจะมี Case และ Power Supply ต่างหาก โดยจะทำการเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยผ่านทาง Communication Port หรือ Port RS232 ข้อดีของ Modem แบบนี้ก็คือ บนตัว Modem เองจะมีไฟบอกสถานะการทำงาน เพื่อบอกให้ผู้ใช้ทราบว่า ตัว Modem ยัง Connect อยู่อย่างปกติหรือไม่ และนอกจากนี้ การที่ตัว Modem มี Power Supply แยกต่างหากก็ทำให้ไม่ต้องไปใช้ Power ร่วมกับ CPU หรืออุปกรณ์อื่น และข้อดีอีกอย่าง Modem แบบ Extennal สะดวกมากในการย้ายไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เพราะเพียงถอดสายที่ต่ออยู่กับ Com Port ก็สามารถยก Modem ไปใช้ได้เลย เมื่อมีข้อดี ก็ย่อมจะมีข้อเสีย สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ ต้องมีพื้นที่พอที่จะวางตัว Modem ที่ต้องติดตั้งอยู่ภายนอกกล่อง CPU และข้อเสียอีกอย่างก็คือ ราคาค่อนข้างจะสูงเมื่อเทียบกับ Modem แบบ Internal ที่ความเร็วเท่ากันโมเด็มประเภทอื่นๆ
Modem แบบ PCMCIA
PCMCIA หรือ PC Card เป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กที่สุด มีขนาดเท่าบัตรเครดิต ได้รับการออกแบบเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ้ค ส่วนประกอบของโมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะคล้ายกับโมเด็มชนิดติดตั้งภายใน ราคาค่าตัวค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับแบบอื่นModem แบบ ADSL
ADSL เป็นโมเด็มที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ที่เป็นระบบ ADSL เท่านั้น เนื่องจาก ระบบนี้เป็นระบบที่ทำให้ ความเร็วของอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมาก จึงทำให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบางราย เปิดให้บริการ ADSL ด้วย โมเด็มชนิดนี้เมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้วไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ เสียค่าอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว ซึ่งก็ไม่แพงจากค่าอินเทอร์เน็ตจากปกติ โมเด็มชนิดนี้ ผู้ที่จะซื้อมาใช้ หมายเลขโทรศัพท์ที่จะเชื่อมต่อต้องเป็นของ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเท่านั้น

ข้อดีและข้อเสียของโมเด็ม

ราคาถูก


ราคาแพง

ติดตั้งยาก ต้องเปิดฝาเครื่องเพื่อติดตั้ง


ติดตั้งโดยใช้สายเคเบิลต่อผ่าน Serial Port

ไม่เปลือง Serial Port ของเครื่องคอมพิวเตอร์


จะเปลือง Serial Port เพราะใช้ในการต่อกับโมเด็ม

เคลื่อนย้ายไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ลำบาก


เคลื่อนย้ายไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ง่าย

ต้องการ ซีพียู ความเร็วสูงหรือ MMX ขึ้นไป


ใช้กับ ซีพียู รุ่นเก่า ๆ ได้

ไม่ต้องมีการต่อสายไฟหรือแหล่งจ่ายไฟเพิ่มเติม


ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและต่อสายไฟต่างหาก

พบปัญหาต่าง ๆ ได้บ่อย เช่นสายหลุดง่าย


ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้งาน


อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต ควรเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่อยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และอื่น ๆ ดังนั้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้งาน ควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ คือ
1.เครื่องคอมพิวเตอร์?(Computer) ควรมีลักษณะดังนี้คือ
1.1 หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ควรมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 233 เมกกะเฮิรตซ์ (MHz)
1.2หน่วยความจำสำรอง (Random Access Memory) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Ram ไม่ควรน้อยกว่า 32 เมกกะไบท์ (MB.)
ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Hard Disk Drive) ไม่ควรมีขนาดน้อยกว่า 1.2 กิกะไบท์ (Gigabytes